Project Source

ที่มาของโครงการ

โครงการ “พัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อคุณครู (depa Teacher Boost Camp) รุ่นที่ 2” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีพื้นฐานทักษะการเขียนโปรแกรมแบบ Block-Base Programming และเสริมสร้างทักษะด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) และแมชชีนเลิร์นนิง (Machine Learning) ประยุกต์ใช้ร่วมกับอุปกรณ์สมองกลฝังตัว ให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์เสมือน (AI & Robotics) เพื่อนำความรู้ที่ได้รับ ถ่ายทอดสู่เด็กและเยาวชน ต่อไป

350

Teachers

8

Areas

4

Teacher Idols

Project Goals

วัตถุประสงค์ของโครงการ

เพื่อส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ในการพัฒนาโครงงานหรือนวัตกรรม

เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะดิจิทัลให้กับคุณครูระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาของภาครัฐและเอกชน ที่จัดการเรียนการสอนด้วย Coding STEM AI ทั่วประเทศ

เพื่อเสริมสร้างคุณครูต้นแบบด้านโค้ดดิ้ง พร้อมเปิดโอกาสและสร้างเครือข่ายให้คุณครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนมุมมอง และประสบการณ์สอนซึ่งกันและกัน ตลอดจนการถ่ายทอดความรู้สู่เด็กและเยาวชน

เพื่อให้คุณครูและบุคลากรทางการศึกษา นำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาทักษะวิทยาการคำนวณให้นักเรียนต่อไป

คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการ

เป็นครูรุ่นใหม่ ไฟแรง

มีประสบการณ์ในการขยายผลโครงการ และมีความพร้อมที่จะเป็น Change Agent ขับเคลื่อนโครงการ/นวัตกรรม

สอนในสาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับไอที

เปิดใจ พร้อมที่จะเรียนรู้ ทักษะใหม่ ๆ

สามารถเข้าร่วมกิจกรรมตั้งแต่เริ่มต้นจนจบโครงการ

เปิดรับสมัคร! ครู หรือบุคลากรทางการศึกษา
ภาครัฐ และเอกชนทั่วประเทศ
จำกัดเพียง 350 ท่าน

Register

สิ่งที่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จะได้รับ

เครื่องคอมพิวเตอร์
สำหรับอบรม

เอกสารประกอบ
การฝึกอบรม

อาหารว่าง
อาหารกลางวัน

ประกาศนียบัตร
(DIGITAL CERTIFICATE)

บัญชีผู้ใช้สำหรับ
เข้าถึงระบบเรียนรู้ออนไลน์
(E-LEARNING ACCOUNT)

ชุดอุปกรณ์สมองกลฝังตัว
(1คน / 1ชุด)

Steps of Work

กิจกรรมภายใต้โครงการ

01

โครงการฯ
คัดเลือกครูเพื่อเข้ารับการฝึกอบรม
ตามวันเวลาและสถานที่ที่กำหนด

02

ครูพัฒนาผลงาน
และนำไปประยุกต์กับการเรียนการสอนพร้อมบันทึก VDO ส่งมายังโครงการ

03

โครงการฯ
ประกาศรายชื่อครู
ที่มีผลงานดีเด่นประจำภูมิภาค
พร้อมลงพื้นที่ถ่ายทำ VDO
สร้างแรงบันดาลใจ

04

กิจกรรมสร้างแรงบันดาลใจ ของคุณครูที่มีผลงานดีเด่น (รูปแบบออนไลน์)

รายละเอียดการจัดกิจกรรม

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการอบรม

  • ครูศึกษารายละเอียดโครงการ และตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นผ่านทางเว็บไซต์โครงการ
  • ครูลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ, ทำแบบทดสอบ Screen-test และออกแบบแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยโค้ดดิ้ง ตามแบบฟอร์มของโครงการ
  • โครงการฯ คัดเลือกครูที่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่โครงการกำหนด
  • โครงการฯ ประกาศรายชื่อครูที่ผ่านการคัดเลือก โดยจะมีเจ้าหน้าที่โทรประสานไปหาครู เพื่อชี้แจงรายละเอียดการเข้าร่วมโครงการ
  • ครูที่ผ่านการคัดเลือกแนบเอกสารยินยอมการเข้าร่วมโครงการ และเข้ารับการฝึกอบรม ตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด

กิจกรรมที่ 2 ครูพัฒนาสื่อการเรียนการสอน

  • ภายใน 30 วันหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมฝึกอบรม ครูนำความรู้และอุปกรณ์ที่ได้รับ ไปพัฒนาสื่อการสอนด้าน AI และนำไปถ่ายทอดให้กับนักเรียน พร้อมบันทึก vdo ความยาว 3-5 นาที ส่งมายังโครงการ
  • คณะวิทยากรตรวจสอบผลงานของครู และแนะนำข้อเสนอแนะเพิ่มเติมให้กับผลงานของครู

กิจกรรมที่ 3 โครงการคัดเลือกผลงานดีเด่น

  • โครงการพิจารณาคัดเลือกผลงานสื่อดิจิทัลด้าน Coding และ AI จากคุณครูที่ส่งผลงานมาทั้งหมด คัดผลงานดีเด่น 1 ผลงาน/1 ภูมิภาค (รวมทั้งสิ้น 4 ผลงาน จาก 4 ภูมิภาค)
  • โครงการลงพื้นที่ถ่ายทำ VDO Success Story คุณครูที่ได้รับการคัดเลือกทั้ง 4 คน

กิจกรรมที่ 4 การสร้างแรงบันดาลใจ

  • โครงการจัดกรรมแลกเปลี่ยนเรียนร่วมกัน ด้วยการนำเสนอสำเร็จของคุณครูทั้ง 4 ท่าน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และเป็นแนวทางในการสร้างสื่อการเรียนการสอน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อคุณครูทุกท่าน

รูปแบบการจัดกิจกรรม

รูปแบบการฝึกอบรมเป็นแบบ Onsite Training

จัดอบรมจำนวน 8 จังหวัด ครอบคลุม 4 ภูมิภาค

ระยะเวลาการฝึกอบรม 2 วัน (12 ชั่วโมง)

Onsite Training

สถานที่ในการจัดอบรม

ภาคเหนือ

จังหวัดพิษณุโลก
จังหวัดเชียงใหม่

ตะวันออกเฉียงเหนือ

จังหวัดขอนแก่น
จังหวัดนครราชสีมา

ใต้

จังหวัดสงขลา
จังหวัดสุราษฎร์ธานี

กลาง

จังหวัดชลบุรี
กรุงเทพมหานคร

ตารางการจัดอบรม

วันอบรม จังหวัด สถานที่จัดอบรม

โปรแกรมที่ใช้ในการฝึกอบรม

PictoBlox

ซอฟต์แวร์เพื่อการเขียนโค้ดแบบต่อบล็อก (Block-Base Programming) ช่วยลดการจดจำรูปแบบของไวยากรณ์ภาษาโปรแกรมได้ดี สามารถเรียนรู้และใช้งาน AI and Machine Learning สามารถเขียนโปรแกรมให้ทำงานได้หลากหลาย เช่น เชื่อมต่อกับหุ่นยนต์ สร้างเกมส์ เป็นต้น

Teachable Machine

เครื่องมือสำหรับเรียนรู้เกี่ยวกับ Machine Learning จาก Google เปิดให้ผู้ที่ต้องการศึกษา Machine Learning เบื้องต้นโดยไม่ต้องเขียนโค้ด ทำให้การสร้าง Machine Learning Models ทำได้ง่าย รวดเร็ว และทุกคนสามารถเข้ามาใช้งานเครื่องมือนี้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

เนื้อหาการฝึกอบรม ระยะเวลา 2 วัน (12 ชั่วโมง)

เนื้อหาการฝึกอบรมวันที่ 1 (6 ชั่วโมง)

บทที่ 1 ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)

บทที่ 2 แนะนำการใช้งานโปรแกรม PictoBlox (AI) เบื้องต้น

  • 2.1 ทำความรู้จักกับโปรแกรม PictoBlox (PictoBlox Introduction)
  • 2.2 เรียนรู้ Concepts ของการเขียนโค้ด (Basic Coding Concepts)
  • 2.3 กิจกรรมเรียนรู้และสร้างโปรแกรมเกมอย่างง่ายด้วย PictoBlox

บทที่ 3 Machine Learning

  • 3.1 Machine Learning คืออะไร
  • 3.2 การเตรียมข้อมูลสำหรับการสร้างโมเดล Machine Learning
  • 3.3 วิธีการสร้าง Machine Learning Models ด้วยโปรแกรม Teachable Machine with Google

บทที่ 4 การประยุกต์ใช้การเขียนโปรแกรมโค้ดบล็อกด้วย PictoBlox สู่ AI

  • 4.1 Workshop - การสร้างระบบยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าสำหรับการปลดล็อกประตูบ้าน ด้วย PictoBlox (Recognizer Using Face Detection in PictoBlox)
  • 4.2 Workshop - การสร้างระบบตรวจจับวัตถุ (Detecting Object using Artificial Intelligence of PictoBlox)
  • 4.3 Workshop - การสร้างระบบคัดกรองผู้สวมหน้ากากอนามัย เพื่อช่วยแก้ปัญหาการระบาด Covid-19 (Making a Mask Identifier: Machine Learning in PictoBlox)

เนื้อหาการฝึกอบรม วันที่ 2 (6 ชั่วโมง)

บทที่ 5 เรียนรู้ระบบสมองกลฝังตัวด้วย Arduino กับการประยุกต์ใช้งานร่วมกับโปรแกรม PictoBlox

  • 5.1 แนะนำ Arduino UNO
  • 5.2 การใช้งานอุปกรณ์ต่อพ่วง Arduino เบื้องต้น
  • 5.3 Workshop - แนะนำการใช้งานอุปกรณ์ต่อพ่วง Arduino ร่วมกับ โปรแกรม Pictoblox

บทที่ 6 การสร้างนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์เข้ากับระบบสมองกลฝังตัวด้วย Arduino

  • 6.1 แนะนำตัวอย่างนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ร่วมกับการต่อวงจร Arduino
  • 6.2 Workshop - กิจกรรมการพัฒนานวัตกรรม การประยุกต์องค์ความรู้ปัญญาประดิษฐ์ ร่วมกับระบบ Arduino ด้วยการโค้ดดิ้งผ่าน PictoBlox