Project Source

ที่มาของโครงการ

ด้วย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ดำเนินโครงการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21​ เพื่อคุณครู (depa Teacher Boost Camp) รุ่นที่ 3 มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาทักษะดิจิทัลให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา สามารถประยุกต์ใช้ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนด้านโค้ดดิ้ง รวมถึงสามารถพัฒนาสื่อการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม ผ่านกิจกรรมการยกระดับทักษะในหลักสูตร “การบูรณาการทักษะแห่งอนาคต STEM Machine Learning IoT ด้วย Coding สู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมแห่งศตวรรษที่ 21” รวมถึงส่งเสริมให้เกิดครูต้นแบบด้านโค้ดดิ้ง และเปิดโอกาสการสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตลอดจนนำความรู้ที่ได้รับถ่ายทอดสู่เด็กและเยาวชนต่อไป

200

Teachers

3

Areas

1

Teacher

Project Goals

วัตถุประสงค์ของโครงการ

เพื่อส่งเสริมทักษะด้าน Coding STEM IOT และ AI ให้แก่คุณครูระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น มีความรู้ที่ทันต่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยี

เพื่อสามารถนำองค์ความรู้ไปต่อยอด เผยแพร่ ประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน และถ่ายทอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เพื่อกระตุ้นให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ การปฏิบัติ และการฝึกฝนอันจะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของคุณครูในประเทศไทย

เพื่อเปิดโอกาสและสร้างเครือข่ายให้คุณครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้มีโอกาสพบปะ แลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์การสอนซึ่งกันและกัน

คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการ

เป็นครูรุ่นใหม่ ไฟแรง

มีประสบการณ์ในการขยายผลโครงการ และมีความพร้อมที่จะเป็น Change Agent ขับเคลื่อนโครงการ/นวัตกรรม

สอนในสาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับไอที

เปิดใจ พร้อมที่จะเรียนรู้ ทักษะใหม่ ๆ

สามารถเข้าร่วมกิจกรรมตั้งแต่เริ่มต้นจนจบโครงการ

เปิดรับสมัคร! ครู หรือบุคลากรทางการศึกษา
ภาครัฐ และเอกชนทั่วประเทศ
จำกัดเพียง 200 ท่าน

Register

สิ่งที่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จะได้รับ

สำหรับการอบรมในรูปแบบออนไลน์​

เอกสารประกอบ
การฝึกอบรม
(Digital File)

ประกาศนียบัตร
(DIGITAL CERTIFICATE)

บัญชีผู้ใช้สำหรับ
เข้าถึงระบบเรียนรู้ออนไลน์
(E-LEARNING ACCOUNT)

สำหรับการอบรมในรูปแบบออนไซต์​

เครื่องคอมพิวเตอร์
สำหรับอบรม

เอกสารประกอบ
การฝึกอบรม
(รูปแบบรูปเล่ม และ Digital File)

อาหารว่าง
อาหารกลางวัน

ประกาศนียบัตร
(DIGITAL CERTIFICATE)

บัญชีผู้ใช้สำหรับ
เข้าถึงระบบเรียนรู้ออนไลน์
(E-LEARNING ACCOUNT)

ชุดอุปกรณ์สมองกลฝังตัว
(1คน / 1ชุด)

Steps of Work

กิจกรรมภายใต้โครงการ

01

โครงการฯ
คัดเลือกครูเพื่อเข้ารับการฝึกอบรม
ตามวันเวลาและสถานที่ที่กำหนด

02

ครูพัฒนาผลงาน
และนำไปประยุกต์กับการเรียนการสอนพร้อมบันทึก VDO ส่งมายังโครงการ

03

โครงการฯ
ประกาศรายชื่อครู
ที่มีผลงานดีเด่นประจำภูมิภาค
พร้อมลงพื้นที่ถ่ายทำ VDO
สร้างแรงบันดาลใจ

04

กิจกรรมสร้างแรงบันดาลใจ ของคุณครูที่มีผลงานดีเด่น (รูปแบบออนไลน์)

รายละเอียดการจัดกิจกรรม

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมรูปแบบการฝึกอบรม รูปแบบออนไซต์ 4 จังหวัด

ครูและบุคลากรทางการศึกษา ศึกษาข้อมูลโครงการ และตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น

  • ครูลงทะเบียนเพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการ และทำข้อสอบ Screen Test ผ่านเว็บไซต์โครงการ
  • โครงการฯ คัดเลือกครูที่ผ่านคุณสมบัติตามเงื่อนไข
  • โครงการฯ ประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านการคัดเลือกผ่านเว็บไซต์โครงการ
  • ฝ่ายประสานงานส่งอีเมลแจ้งผลการคัดเลือก พร้อมโทรประสานไปยังคุณครูที่ผ่านการคัดเลือก เพื่อให้รายละเอียดเพิ่มเติม
  • ผู้ที่ผ่านการคัดเลือก ยืนยันการเข้าร่วมโครงการ โดยแนบเอกสารยินยอมเข้าร่วมโครงการ (ลงนามโดยผู้บริหารสถานศึกษา) ผ่านเว็บไซต์โครงการ

กิจกรรมที่ 2 ครูพัฒนาสื่อการสอน

  • ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม พัฒนาสื่อการสอน โดยการประยุกต์ร่วมกับโปรแกรม และอุปกรณ์สมองกลฝังตัว ที่โครงการมอบให้ พร้อมจัดทำเป็นไฟล์นำเสนอ
  • ครู นำสื่อการสอนที่พัฒนาขึ้น ถ่ายทอดให้กับนักเรียน พร้อมบันทึกเป็น VDO ภาพบรรยากาศการเรียนการสอน ความยาวประมาณ 3-5 นาที และส่งคลิป VDO มายังเว็บไซต์โครงการ ภายใน 30 วัน หลังจากจบการอบรม

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมต่อยอด

1. การคัดเลือกผลงาน เพื่อคัดเลือกคุณครู Teacher Idol และคุณครูที่มีผลงานดีเด่น

  • โครงการฯ พิจารณาคัดเลือกผลงานสื่อดิจิทัลด้าน Coding และ AI จากคุณครูที่ส่งผลงานมาทั้งหมด
  • โครงการฯ ประกาศรายชื่อครูที่มีผลงานดีเด่น จำนวน 3 คน และ Teacher Idol จำนวน 1 คน
  • เฉพาะครูที่ได้รับรางวัล Teacher Idol จะได้รับการประสานงาน เพื่อดำเนินการถ่ายทำ VDO Success Story เพื่อเปิดในกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน (รูปแบบออนไลน์) และเผยแพร่ผ่านช่องทางต่าง ๆ หลังจากจบกิจกรรม

2. การคัดเลือกคุณครูเข้ารับการฝึกอบรมประกาศนียบัตรมาตรฐานสากล

  • หลังจากผู้อบรมทำ Post-Test และ ส่งผลงานผ่านเว็บไซต์โครงการทั้งหมดแล้ว โครงการฯ ประมวลผลคะแนน และประกาศรายชื่อผู้ที่มีคะแนนสูงสุด 40 ลำดับแรก เพื่อเข้าร่วมอบรมพร้อมสอบมาตรฐานสากลด้วย IT Specialist Certification: Artificial Intelligence รูปแบบออนไลน์ ระยะเวลา 2 วัน (12 ชั่วโมง)

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน (รูปแบบออนไลน์)

โครงการฯ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในรูปแบบออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Virtual Classroom

รูปแบบการจัดกิจกรรม

Onsite Training จำนวน 4 รุ่น

Online Training จำนวน 1 รุ่น

จัดอบรมจำนวน 4 จังหวัด ครอบคลุมทั้ง 4 ภูมิภาค

ระยะเวลาการฝึกอบรม 2 วัน (12 ชั่วโมง)

ตารางการจัดอบรม

วันอบรม จังหวัด สถานที่จัดอบรม
11 - 12 มกราคม 2567 - ออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom Cloud Meetings
20 - 21 มกราคม 2567 กรุงเทพมหานคร ศูนย์ฝึกอบรม อาคารเอ็ม เอส สยาม ถนนพระราม 3 กรุงเทพฯ
20 - 21 มีนาคม 2567 ภูเก็ต โรงเรียนขจรเกียรติศึกษา
27 - 28 มีนาคม 2567 นครราชสีมา โรงเรียนสุรนารีวิทยา 2
3 - 4 เมษายน 2567 เชียงใหม่ โรงเรียนวัดเวฬุวัน

หมายเหตุ กำหนดการและสถานที่ฝึกอบรม อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

โปรแกรมที่ใช้ในการฝึกอบรม

PictoBlox

ซอฟต์แวร์เพื่อการเขียนโค้ดแบบต่อบล็อก (Block-Base Programming) ช่วยลดการจดจำรูปแบบของไวยากรณ์ภาษาโปรแกรมได้ดี สามารถเรียนรู้และใช้งาน AI and Machine Learning สามารถเขียนโปรแกรมให้ทำงานได้หลากหลาย เช่น เชื่อมต่อกับหุ่นยนต์ สร้างเกมส์ เป็นต้น

Artificial Intelligence (AI)

AI หรือ Artificial Intelligence เป็นคุณสมบัติในโปรแกรม PictoBlox ที่สามารถให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้แนวคิดด้าน AI และนำความรู้ด้านโค้ดดิ้งมาสร้างสรรค์ระบบ AI ได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็น Face Detection (ตรวจจับใบหน้า) Pose Detection (ตรวจจับท่าทาง) Image & Audio Classification (จำแนกรูปภาพและเสียง) เป็นต้น

Machine Learning (ML)
Internet of Thing (IoT)

IoT หรือ Internet of Thing เป็นคุณสมบัติในโปรแกรม PictoBlox ที่ทำให้ผู้เรียนสามารถนำระบบต่าง ๆ เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ และแสดงผล รวมทั้งควบคุมการทำงานผ่านระบบ Internet ซึ่งสามารถนำ IoT ไปผนวกกับงานได้หลากหลาย เช่น พัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ML และนำไปแสดงผลผ่านเว็บไซต์ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงผลลัพธ์ได้ผ่านการเชื่อมต่อด้วย Internet เป็นต้น

เนื้อหาการฝึกอบรม ระยะเวลา 2 วัน (12 ชั่วโมง)

เนื้อหาการฝึกอบรมวันที่ 1 (6 ชั่วโมง)

บทที่ 1 AI & Machine Learning กับการเรียนรู้ในห้องเรียน

  • 1.1 ความสำคัญของการโค้ดดิ้ง
  • 1.2 AI และ Machine Learning คืออะไร
  • 1.3 ทำไมต้องใช้ Machine Learning
  • 1.3 ทำไมต้องใช้ Machine Learningห
  • 1.5 อัลกอริทึมของ Machine Learning

บทที่ 2 แนะนำการใช้งานโปรแกรมสำหรับการพัฒนา Machine Learning

  • 2.1 แนะนำ PictoBlox และการดาวน์โหลด ติดตั้งแอปพลิเคชัน
  • 2.2 การใช้งาน Block-Base Coding ในการสร้างงานด้าน AI
  • 2.3 การใช้งานส่วนเสริม (Extension Module)
  • 2.4 การสร้างโปรเจค AI อย่างง่าย ด้วย Face & Object Detection Module
  • 2.5 การสร้างโปรเจค AI อย่างง่าย ด้วย Hand & Pose Detection Module

บทที่ 3 Machine Learning Environment

  • 3.1 การวิเคราะห์และรู้จำข้อมูลภาพ (Image Classifier)
  • 3.2 การรู้จำท่าทางของมนุษย์ (Pose Classification)
  • 3.3 การรู้จำท่าทางของมือ (Hand Pose Classification)
  • 3.4 การประมวลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing)
  • 3.5 การตรวจจับวัตถุ (Object Detection)

บทที่ 4 การประยุกต์ใช้การเขียนโปรแกรมโค้ดบล็อกด้วย PictoBlox สู่ AI

  • 4.1 Workshop - การสร้างระบบยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าสำหรับการปลดล็อกประตูบ้าน ด้วย PictoBlox (Recognizer Using Face Detection in PictoBlox)
  • 4.2 Workshop - การสร้างระบบตรวจจับวัตถุ (Detecting Object using Artificial Intelligence of PictoBlox)
  • 4.3 Workshop - การสร้างระบบคัดกรองผู้สวมหน้ากากอนามัย เพื่อช่วยแก้ปัญหาการระบาด Covid-19 (Making a Mask Identifier: Machine Learning in PictoBlox)

เนื้อหาการฝึกอบรม วันที่ 2 (6 ชั่วโมง)

บทที่ 4 Application Integration and Deployment

การนำ AI ไปปรับใช้กับงาน / App เช่น ถ้าเราจะนำ AI ไปใช้ในงานลักษณะแบบนี้ จะต้องปรับข้อมูลอย่างไร จึงจะเหมาะสม

  • 4.1 Train customers on how to use product and what to expect from it
  • 4.2 Plan to address potential challenges of models in production
  • 4.3 Design a production pipeline, including application integration Support the AI solution

บทที่ 5 Maintaining and Monitoring AI in Product

การดูแลโมเดล AI หากมีปัญหา จะแก้ไขปรับปรุงอย่างไร เพื่อไม่ให้งานเกิดผลกระทบความเสียหาย

  • 5.1 Engage in oversight
  • 5.2 Assess business impact (key performance indicators)
  • 5.3 Measure impacts on individuals and communities
  • 5.4 Handle feedback from users
  • 5.5 Consider improvement or decommission on a regular basis